การจัดหาวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนบริหารจัดการและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยให้การสนับสนุนอย่างเป็นระบบทั้งในเรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัย ความรู้ด้านการทำการเกษตรอย่างถูกต้อง และการเข้าถึงทรัพยากรและการศึกษาในระดับสากล

ผ่านทางเครือข่ายความร่วมมือจากสมาชิกเกษตรกรของเรา (Farmer Networks) เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทานและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรม

แม้ว่าธุรกิจจะเติบโตอย่างต่อเนื่องและห่วงโซ่อุปทานจะมีขอบข่ายกว้างมากขึ้นเพียงใด บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นและพัฒนาอย่างเต็มกำลังในการจัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน โดยมุ่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคู่ค้าธุรกิจ และสนับสนุนเครือข่ายความร่วมมือกับพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และองค์กร พัฒนาเอกชน เป็นต้น

ดาวน์โหลดเอกสารการพัฒนาเกษตรกร

การบริหารจัดการและการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความท้าทายจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของประชากร บนพื้นฐานทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งสามารถส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร ทั้งนี้บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการการบริหารจัดการและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ เริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต ไปจนถึงการจำหน่ายสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การร่วมฟื้นฟูและรักษาพื้นที่ต้นนำ้ เพื่อความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติที่จะเอื้อต่อการดำรงชีวิตและการดำเนินธุรกิจอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมถึงการคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพในห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเกษตรและอาหารทีมีส่วนเกี่ยวข้อง

ไทยวาเกษตรยั่งยืน

บริษัทฯ มุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าร่วมกับสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน โดยเริ่มจากกลุ่มเยาวชนและขยายผลไปสู่ครอบครัวและชุมชนตามลำดับ และตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมว่ามีความสำคัญต่อศักยภาพของธุรกิจไทยวาเป็นอย่างมาก จึงเกิดเป็นโครงการ “ไทยวาเกษตรยั่งยืน” ขึ้น เพื่อพัฒนาเกษตรกร สังคมและชุมชนสีเขียว จุดประสงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนรุ่นใหม่รักเกษตรกรรมและเข้าใจการทำเกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดำริส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรในชุมชนได้นำไปพัฒนาพื้นที่เพาะปลูก และสร้างเกษตรกรที่มีศักยภาพกลับคืนสู่ชุมชน โดยนำความรู้ที่ได้จากโครงการมาพัฒนาผลผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยีทางการเกษตรควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm) ตอนสนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยเริ่มจากกลุ่มเยาวชนและขยายผลไปสู่ครอบครัว และชุมชนตามลำดับ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ โดยไทยวาฯ พร้อมให้เงินสนับสนุนตลอดโครงการ และได้เลือกโรงเรียนในระดับมัธยม ในอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก เป็นชุมชนนำร่อง

2561 2562 2563 เป้าหมายปี 2564
จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ (คน) 120 380 1,569 3,000
จำนวนพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ (ไร่) 2,400 15,000 19,088 40,000
ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย (ตัน/ไร่) 4.5 5.5 5.8 6.0
จำนวนเกษตรกรเข้าร่วมการอบรม (คน) 200 250 897 2,500
ศูนย์การเรียนรู้เกษตรกรไทยวา (แห่ง) 0 3 3 12
จำนวนปุ๋ยสูตรไทยวาที่สนับสนุนแก่เกษตรกร (ตัน) 370 3,400 9,051 15,000
สัดส่วนการซื้อหัวมันโดยตรงจากเกษตรกรในไทย (ร้อยละ) N/A 44 53 63
สัดส่วนการซื้อหัวมันโดยตรงจากเกษตรกรในเวียดนาม (ร้อยละ) N/A N/A 5 10